วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559


สื่อ ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้

นำเสนอ → รถเคลื่อนที่ด้วยหนังยาง


หลักการ


***แต่ต้องนำกลับมาแก้ไข เพราะรถเคลื่อนช้ามาก ซึ่งต่างจากคลิปที่นำมาเป็นตัวอย่าง จึงเป็นมาทำเป็นเก้าอี้จากขวดน้ำ


วัสดุ/อุปกรณ์
  1. ขวดน้ำ(เล็ก) 18 ขวด
  2. กาวติดพลาสติก
  3. เทปกาว
  4. กระดาษลัง
  5. ถุงดำ ขนาด 24*28 
  6. กรรไกร
  7. กระดาษสี / อุปกรณ์ตกแต่ง
  8. หมอน


ขั้นตอนการทำ
  1. นำขวดน้ำขนาดเท่ากัน 18 ขวด(เล็ก)มาเรียง 3 แถว แถวละ 6 ขวด
  2. ติดกาวระหว่างขวด ด้วยกาวติดพลาสติก
  3. พันเทวกาวรอบๆ ขวดอีกครั้งเพื่อให้ได้ทรงสี่เลหี่ยมและแน่นหนา
  4. ติดกระดาษลังรอบๆให้ผิวด้านข้างเรียบเนียน
  5. เมื่อติดกระดาษลังรอบๆทรงขวดน้ำแล้ว เอาถุงดำครอบรอบๆอีกที ให้เรียบและดูเรียบร้อย
  6. เมื่อได้รูปทรงตามต้องการก็ตกแต่งด้วยกระดาษสีรอบๆ ติดกระดาษไว้ที่ถุงดำ ตามไอเดียที่คิดไว้
  7. นำหมอนนุ่มมาติดไว้ด้านที่นั่งสำหรับรองนั่งให้เกิดความสบาย เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ



วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาการเรียน

  • พูดคุยทุกอย่างที่ได้เรียนมา และส่งใบปั๊มรายชื่อ เพื่อแจกรางวัลเด็กดี  พร้อมทั้งแจกสีและข้อสอบเพื่อไปทำที่บ้าน และส่งในวันที่ 8 ธันวาคม 2559

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาการเรียน

  • อาจารย์ให้รำวงไปเรื่อยๆและร้องเพลงเพื่อแบ่งกลุ่ม  จากนั้นก็ให้ทำกิจกรรมแสดงละคร ตามความคิดของตน โดยมีข้อกำหนดว่า ถ้าหากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตพูดได้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร
กิจกรรมที่ 1
บทของกลุ่มเรา เรื่อง   ยีราฟกระหายน้ำ

กลุ่มของเพื่อนๆ






กิจกรรมที่ 2 เคาะจังหวะจากร่างกาย




การนำไปใช้
  •  การแสดงละครสามารถนำไปใช้กับเด็กๆในการเล่นบทบาทสมมุติ ช่วยพัฒนาการในทุกๆด้าน
  • การเล่นเคาะจังหวะ จากอวัยวะ เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เราต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้เกิดเสียงในร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ปรบมือ เคาะ ตบตัก เสียงจากปาก เป็นต้น
การประเมิน
ผู้สอน - มีกิจกรรมที่ดี สร้างสรรค์นำมาสอน ให้ผู้เรียนได้จุดประกายและต่อยอดจากกิจกรรม
ผู้เรียน - สนุกกับกิจกรรมและได้ความคิดมากมาย



วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ 14 พฤศจิกายน 2559

***ขาดเรียน อ้างอิงจาก นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน
http://pple2559.blogspot.com/2016/11/12-14.html
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 14 เดือนพศจิกายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน

        การสอนเคลื่อนไหว เพื่อบูรณาการการเรียนรู้ศิลปสร้างสรรค์ ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อนำมาจัดกิจกรรมบูรณาการสู่กระบวนการคิด
จากนั้นก็ได้นั่งเป็นกลุ่มย่อยๆเพื่อเลือกกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและออกแบบขั้นสอนการสอนของแต่ละกลุ่ม เมื่อเลือกกิจกรรมและเขียนขั้นตอนเสร็จแค่ละกลุ่มก็ออกมาสอน


การเรียนการสอนในวันนี้
















กลุ่มที่ 1 สอนเคลื่อนไหวตามข้อตกลง











กลุ่มที่ 2 สอนการเคลื่อนไหวประกอบเพลง










กลุ่มที่ 3 สอนการเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม










กลุ่มที่ 4 สอนการเคลื่อนไหวตามำบรรยาย












กลุ่มที่ 5 กลุ่มดิฉันสอนการเคลื่อนไหวแบบจำ









กลุ่มที่ 6 สอนการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลาย เช่น กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง ให้เด็กนำปากกาต่อเป็นรูปดอกไม้ เด็กๆก็ได้ริเริ่มการออกแบบดอกไม้



การประมินผล
ประเมินตนเอง : ในขั้นตอนการสอนก็ยังไม่แม่นยำ ยังต้องพัฒนาการสอนอีกเยอะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนสามารถสอนได้ในระดับดี มีส่วนน้อยที่ต้องปรับปรุง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายขั้นการสอนเคลื่อนไหวที่เชื่อมการคิดได้ละเอียดดี

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน2559

เนื้อหาการเรียน

  • วันนี้นำเสนอของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ที่ได้เสนอต่ออาจารย์เมื่อคาบที่แล้ว มีตัวอย่างของเล่นดังนี้







-ของเล่นของฉัน คือ รถหนังยาง มีแนวคิดจากคลิปนี้

 

ต้องนำไปปรับปรุง เพราะมันเคลื่อนที่ได้ช้า

การนำไปใช้
  • นำของเหลือใช้มาทำประโยชน์ได้หลากหลาย อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่าย จากการซื้อของใหม่ได้
การประเมิน
ผู้สอน - แต่งกายเรียบร้อบ ให้คำแนะนำที่ดี สำหรับของเล่นหรือของใช้ที่ต้องนำไปปรับปรุง
ผู้เรียน - ทำการทดลองของตนเอง แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความสมบูรณ์ และสนใจในงานของเพื่อนๆอย่างดี



วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม 2559

เนื้อหาการเรียน 

  • อาจารย์ตั้งคำถามแก่นักศึกษา เพราะอะไร ความคิดสรา้งสรรค์ จึงมีมากกว่าวิทยาศาสตร์ ?
เป้าหมาย คือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้น
ตรงการ คือ กิจกรรมที่จะบูรณาการ
ต้นทางคืออะไร ? ตอบ ก้คือพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กที่มันจะต้องมาเชื่อมโยงกัน ด้วยศาสตร์หลายแขนง การจัดประสบการณ์จะเป็นการบูรณาการเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
เหมาพสมพัฒนาการ สอดคล้องกับวิธรการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรม 
อาจารย์ให้จัดเป็น 3 กลุ่ม และจับฉลาก เพื่อเป็นวัสดุในการประดิษฐ์ เราได้ขวดน้ำ จะประดิษฐ์จรวด
เพื่อนๆก้ออกความคิดเห้นของแต่ละคนในการประดิษฐ์ของเล่นของตนและให้อาจารย์พิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่

การนำไปใช้
  • การใช้วัสดุเหลือใช้ในการประดิษฐ์ของเล่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่่งความคิดสร้างสรรค์
การประเมิน
ผู้สอน ; ให้ความรุ้ได้ดีเกี่ยวกับการทำของเล่นจากวัสดุเหลิอใช้
ผู้เรียน ; ตั้งใจเรียนและหาของเล่นที่จะทำ


วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 24 ตลาคม 2559

***หยุดชดเชยเนื่องจากวันปิยะมหาราช


วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559

เนื้อหาการเรียน

  • ทบทวนความรู้เก่า ขั้นตอน ลำดับการคิด
  • คิดริเริ่ม → คล่องแคล่ว → ยีดหยุ่น → ละเอียดละออ → สร้างสรรค์ 
ทบทวนกิจกรรมครั้งที่แล้ว
1. ฟองสบู่ 
2. จานกระดาษ → ต้องมีความรู้เดิม
3. พิมพ์ภาพจากมือ → มีความคิดริเริ่ม เปลี่ยนอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน
4. วาดแมลง → ประดิษฐ์ของเล่นโดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ ดดยใช้การสังเกต หากของเล่นที่ทำไม่สามารถดึงได้ ก็จะเกิดปัญหา ต่อมาจะไปเกิดการทดลอง และค้นพบวิธีในที่สุด

ความคิดสร้างสรรคื ไม่จำเป้นจะต้องสร้างใหม่ แต่สามารถพัมนาจากองค์ความรู้เดิม หรือ ของเล่นเดิมก็ได้

กิจกรรม
  • ครูแจกกระดาษ A 4 ให้วาดรุปตัวเลขคนละ 1 ตัวเลข โดยออกแบบเป็นของตัวเอง และอธิบายถึงแนวคิดในการทำของแต่ละคน เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยกิจกรรมนี้เชื่อมโยงต่อคณิตศาสตร์
  • เมื่อทำเสร็จครูให้ไปแปะเรียงตามลำกับตัวเลขที่กระดานหน้าห้อง และให้แต่ละคนอธิบายแนวคิดการทำ
  • จากนั้นจับกลุ่มตามลำดับตัวเลย 0-9 และให้ออกแบบ ว่าตัวเลขสามารถนำมาทำสื่อได้อย่างไร แบบไหนได้บ้าง
กลุ่มที่ 1 ทำเกมการศึกษา ในเรื่องของรุปทรงเรขาด้วย และจำนวนตัวเลข
กลุ่มที่ 2 ทำเกมการศึกษา พื้นฐานการบวก
กลุ่มที่ 3 ทำนิทานตัวเลข

ภาพกิจกรรม










การนำไปใช้
  • สามารถนำเกม กิจกรรม ของเพื่อนแต่ละกลุ่มไปต่อยอด สร้างเกมสนุกๆให้เด็กได้เล่น วึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นฐานคณิตศาสตร์
ประเมิน
ผู้สอน ; ให้ความรู้ได้ดี พูดชัดเจน
ผู้เรียน : ตั้งใจเรียนและช่วยเพื่อนในการทำงาน


วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559

เนื้อหาการเรียน

  • สอนเนื้อหาการคิด 
ลำดับขั้นการคิด
คิดริเริ่ม
คิดคล่องแคล่ว
คิดยืดหยุ่น
คิดละเอียดละออ
ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดริเริ่ม คือ การได้ลองได้เริ่มทำสิ่งใหม่
ปัจจัยในการริเริ่ม พ่อ แม่ ครู ผู้สอน ซึ่งจะสามารถจัดกิจกรรมสร้างเสริมความคิดได้หลากหลาย

ฐานของศิลปะ → วาด ปั้น ตัด ปะ แปะ ฉีก เป็นต้น

สิ่งเร้า → สังเกต → เปรียบเทียบ → จัดหมวดหมู่ → ประสบการณ์ → ความคล่องแคล่ว → ทักษะ

หน้าที่ครู /ผู้สอน
1. จัดกิจกรรมที่หลากหลาย
2. ความคิดสร้างสรรค์ คือสิ่งที่ครูควรมี
3. เชื่อมั่นในตัวเด็ก
4. ต้องไม่เปรียบเทียบระหว่างเด็ก
5. ยอมรับในความแตกต่างรหว่างบุคคล
6. เน้นคุณค่าในตัวเด้ก
7. ไม่สร้างปมด้อย

กิจกรรม 
1. ทำแมลงจากแกนกระดาษทิชชู่
2. พิมพ์ ให้เป็นรูปผีเสื้อ ให้ทาสีให้ทั่วฝามือ แล้วนำมือที่ทาสีทั้งสองข้าง มาแปที่กระดาษ ตัดกระดาษตามรูปมือจะได้เป็นผีเสื้อ
3. จานกระดาษ แนวคิด ทำอย่างไรก็ได้ วาดอะไรก็ได้ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
4. เป่าสี คือ นำสีผสมกับน้ำยาล้างจาน และทำให้เกิดฟอง จากนั้นนำหลอดจุ่ม และเป่าที่กระดาษ ก็จะเป็นวงกลม ละอองๆสีๆตามที่เป่า

ภาพกิจกรรม














การประยุกต์ใช้
  • นำไปจัดกิจกรรมให้แก่เด้ก โดยปรับความยากง่ายตามความเหมาะสม
ประเมิน
ผู้สอน :  ให้ความรู้ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างดี ทำกิจกรรมสนุกสนาน
ผู้เรียน : เข้าร่วมกิจกรรมที่ผู้สอนเตรียมมาให้อย่างดี 


                       

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 
วันจันทรื ที่ 3 ตุลาคม 2559

เนื้อหาการเรียน
  • นำเสนอกิจกรรม STEAM // STEM 

กลุ่มที่ 1 กิจกรรมบ้านของฉัน ให้สร้างบ้านตามจินตานาการของกลุ่ม ให้ช่วยกกันทำภายในกลุ่ม
กลุ่มที่ 2 กิจกรรมหน่วยผลไม้ ห้ทำรูปผลไม้จากเศษกระดาษ
กลุ่มที่ 3 กิจกรรมในหน่วยปลา ทำปลาจากจานกระดาากลม
กลุ่มที่ 4 กิจกรรมหน่วยไข่ ทำตุีกตาล้มลุก
กลุม่ที่ 5 กิจกรรมหน่วยยานพาหนะ 
กลุ่มที่ 6 กิจกรรมมงกุฏผลไม้ ทำมงกุฏของผลไม้ที่เพื่อนๆรู้จัก กลุ่มละ 1 อัน

ภาพกิจกรรม













การประยุกต์ใช้ 
จัดกิจกรรมให้เด้กๆ และผูปกครองสามารถเลือกกิจกรรมไปทำกับเด็กๆได้ด้วย

ประเมิน
ผู้สอน : ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างอิสระ หากมีสิ่งที่ต้องแก้ไข จะแนะนำ
ผู้เรียน : สนุกสนานกับการเรียน ได้ทำกิจกรรมมากมาย