วันจันทร์ ที่29 สิงหาคม 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
กิจกรรมภายในห้อง
กิจกรรมภายในห้อง
- อาจารย์แนะนำรายวิชาและบอกข้อตกลงในชั้นเรียน แจกใบปั๊มการเข้าเรียน
- ร่วมร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
- ความคิดสร้างสรรค์จากการมองที่จุด
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
-กระบวนความคิดทางปัญญาระดับสูง เพื่อใช้ความคิดหลากหลายอย่าง ในความคิดสร้างสร้างสรรค์ใหม่ๆ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
-Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
•ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
•ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
(Association Fluency)
•ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
•ด้านการคิด (Ideation Fluency)
2.
ความคิดริเริ่ม
(Originality)
•ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดาหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
•ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที
(Spontaneous
Flexibility)
•ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง
(Adapture Flexibility)
4.
ความคิดละเอียดลออ
(Elaboration)
•ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
•เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
•ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
•ระยะ 2 -4 ขวบ
•ระยะ 4-6 ขวบ
•แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ
สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
•2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
•4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน
ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
- Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง (Incompleteness,
Openness)
ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา
และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Producing Something and
Using It)
ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using
Pupil Question)
1. คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว
•คิดให้ได้มากที่สุด
2. คำถามที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม
•คิดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
3. คำถามที่ส่งเสริมความคิดยืดหยุ่น
•ได้คำตอบที่หลากหลาย
4. คำถามที่ส่งเสริมความคิดละเอียดลออ
•คิดให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ
กิจกรรมหลังการสอน
-ผู้สอนให้นักศึกษาพับจรวดตามรูปแบบของแต่ละคน และมาแข่งกันโยนให้ลงถังที่เตรียมไว้ให้
-ผู้สอนให้จับคู่กับเพื่อน และวาดภาพจากการฟังเพลง ตามจินตนาการของตน โดยไม่ยกสีเทียนและเมื่อเพลงจบก็ให้เติมจุดหรือตกแต่งให้เกิดภาพ
นี่คือผลงานของฉันและเพื่อน
การประยุกต์ใช้
-นำการสอนจากอาจารย์ไปประยุกต์ให้เกิดความง่ายขึ้น เพื่อนให้เหมาะสมกับเด็กๆ
การประเมิน
ผู้สอน : แต่งกายสุภาพ สอนสนุกสนาน คลายเครียด เป็นกันเองและครอบคลุมเนื้อหา
ผู้เรียน : ตั้งใจทำกิจกรรมดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น