วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันจันทร์ ที่ 26 กันยายน 2559

***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน 2559

เนื้อการเรียน

**อาจารย์ติดประชุม จึงมอบหมายงานกลุ่มให้ไปทำ
คำสั่ง ; กิจกรรม STEAM ที่จะนำเสนอวันจันทร์ที่ 3 ต.ค.
ที่เลือก 1 กิจกรรม ให้เพื่อนทำในห้อง(เป็นกลุ่ม)
ครูจะเตรียมพวก กาว กรรไกร กระดาษสี สีเทียน สีไม้ สีเมจิกไว้ให้ 


วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 
วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน 2559 

***ขาดเรียน อ้างอิงบล็อคจาก นางสาวนันทนาภรณ์  คำอ่อน 
http://pple2559.blogspot.com/2016_09_01_archive.html

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 12  เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน
STEM / STEAM Education
          STEM  คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
         Science (วิทยาศาสตร์) = การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
         Technology (เทคโนโลยี) สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
         Engineering (วิศวะ) = ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
         Mathematics (คณิตศาสตร์) = เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ 
รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์
         STEAM Education   คือ การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”

บรรยากาศการเรียนการสอน เรียนรวม 2 กลุ่ม








ภาพนี้คือกิจกรรมผีเสื้อจากจานกระดาษ 
งานชิ้นนี้เป็นงานกลุ่ม 5 คน เพื่อนๆกลุ่มเราก็ช่วยกันทำดีมากค่ะ



ชิ้นที่ 2  กรงผีเสื้อ



ชิ้นที่ 3 การนำเสนอรูปภาพผีเสื้อ โดยโปรแกรม Stop Motion


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
- การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
การเรียนในวันนี้ก็สนุกกับการเรียน ดีใจที่ได้เรียนร่วมกับเพื่อนๆหลายคน ยิ่งแบบเพื่อนเก่าที่เคยอยู่ห้องด้วยกันก็รู้สึกสุขใจมาก การทำกิจกรรมต่างๆก็เตรียมอุปกรณ์มา ช่วยเพื่อนๆทำงานกลุ่มตามที่ตนพอทำได้ 

ประเมินเพื่อน
จาการเรียนวันนี้ก็รู้สึกว่าเพื่อนๆดูมีความสุข สนุกสนานกว่าทุกครั้ง  อาจจะเป็นเพราะคนเยอะก็อาจจะใช่ แต่เพื่อนๆก็ตั้งใจทำงานได้ดีมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
วันนี้ต้องขอบคุณอาจารย์ที่เตรียมกิจกรรมสนุกๆมาให้เราได้สร้างสรรค์ผลงาน รู้สึกมีความสุขกับการเรียนครั้งนี้มากค่ะ

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2559

เนื้อหาการเรียน

  • อาจารย์ให้ดูคลิปล้อเลียนรถเมล์ สาย 8 พูดถึงความปลอดภัยในการจราจร
  • ทำกิจกรรม กลุ่มละ 5 คน ชื่อกิจกรรม มาชเมโล่ ทาวเวอร์ ซึ่งได้ความคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคี ซึ่งอุปกรณ์มีดังนี้ 
อุปกรณ์
  1. ไม้จิ้มฟัน
  2. ดินน้ำมัน 5 แท่งยาว (ใช้แทนมาชเมโล่)
  3. กระดาษ A4 
คำสั่ง : ให้นักศึกษาเอาไม้จิ้มฟังต่อกันให้ยาวที่สุด ตามความคิดของตน
  • รอบที่ 1 กลุ่มของเราต่อ ห้ามพูดคุยกันในกลุ่ม ให้ส่งสายตาหากันอย่างเดียว ครั้งแรกกลุ่มดิฉันได้ความ สุง 22 ซม.
  • รอบที่ 2 : ให้มีตัวแทนกลุ่ม 1 คน เป็นผู้นำในการต่อ ได้ความสูง 60 ซม.
  • รอบที่ 3 : ให้ทุกคนช่วยกันระดมความคิด ได้ความสูง 51 ซม.
แนวคิดการทำ : ทำฐานให้แข็งแรง ดินน้ำมันฐานหนัก ต่อยอดให้ดินน้ำมันเบาที่สุด เพื่อที่จะไม่หนักจนล้มลงมา

บทเรียน "การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์"
การเล่น
  • กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
  • ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
  • ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
เพียเจท์ บอกไว้ 3 ขั้น
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)

ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  • การเล่นกลางแจ้ง
  • การเล่นในร่ม

การเล่นในร่ม
-การเล่นตามมุมประสบการณ์
-การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง
-การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
-ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
-เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
-เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
-การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
-การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
-การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

3.กระบวนการจัดการเรียนรู้
-กระบวการเรียนรู้
-กระบวนการจัดประสบการณ์

กิจกรรม
  •        อาจารย์ผู้สอนให้ทำกิจกรรม "เรือบรรทุกของ" ขั้นตอนดังนี้ 
อุปกรณ์ 
1. หนังยาง
2. กระดาษ A4 
3. หลอดดื่มน้ำ 4 อัน

คำสั่ง  : ให้นักศึกษาทำเรือเพื่อบรรจุซองซอส ให้บรรจุให้ได้มากที่สุด กลุ่มไหนมากที่สุด ชนะ




  •        และกิจกรรมดีไซเนอร์
อุปกรณ์และคำสั่ง : หนังสือพิมพ์ที่นักศึกษาเตรียมมา อาจารยืให้เทปกาวกลุ่ม 1 ม้วน ให้ออกมาเป็นแฟชั่นโชว์ โดยจะต้องมีสิ่งที่อาจารย์กำหนด
ประเมิน
ผุ้สอน ; แต่งกายสุภาพ สอนเป็นกันเอง สนุก ได้รับสาระเนื้อหาครบถ้วนเกี่ยวกับรายวิชา
ผู้เรียน : ตั้งใจเรียน และได้รับความรู้ ร้อยละ 90